ข้อ 2.  เทคโนโลยีของการสื่อสารผ่านสื่อใหม่นั้นในแง่ทฤษฎีระบบการสื่อสารแบ่งการส่งข้อมูล

          ได้เป็น 2 แบบ คือ    1) Circuit  Switching  2) Packet  Switching

           

 

* การติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบ Circuit  Switching

           Circuit Switching คือ วิธีการต่อสัญญาณจากผู้ที่เริ่มต้น ผ่านชุมสาย ผ่านสายไฟจริงๆ จนกระทั่ง ถึงที่หมาย  และสัญญาณจะอยู่จนกระทั่งมีการยกเลิกการใช้งาน  หลักการที่สำคัญของการสวิทช์วงจร คือ จะต้องมีการจัดตั้งเชื่อมต่อก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลจริง การจัดตั้งการเชื่อมต่อนี้อาจจะใช้เวลามาก บางครั้ง อาจจะถึง 10 วินาที ขึ้นอยู่กับระยะทาง ยิ่งเป็นการเรียก (call) แบบทางไกล เช่น การเรียกข้ามประเทศก็ อาจจะนานกว่า เวลาที่ใช้นี้เป็นการค้นหาเส้นทางที่สัญญาณจะใช้ติดต่อจะเห็นว่าก่อนที่จะมีการส่งสัญญาณ ออกไปได้ คำสั่งร้องขอ request จะต้องถูกส่งออกจากตั้งแต่ผู้เริ่มต้นจนกระทั่งถึงที่หมาย และรอให้ปลายทาง ตอบรับกลับมายังที่เริ่มต้น 

            เมื่อมีการจัดสร้างเส้นทางเรียบร้อยแล้ว เวลาที่เสียไปจะเป็นเพียงแค่เวลาที่สัญญาณผ่านสายเท่านั้น  ซึ่งโดยปกติจะมีค่าประมาณ 3 msec ต่อระยะทาง 1000 km และหลังจากมีการจัดตั้งทางเดินสัญญาณ แล้วจะไม่มีปัญหาของความหนาแน่นของการใช้ตามมา  นั่นคือหลังจากต่อกันได้แล้วจะไม่มีทางจะได้ยิน สัญญาณไม่ว่าง ถึงแม้ว่าก่อนหน้าที่จะต่อสำเร็จ อาจจะได้ยินบ้างเพราะชุมสายถูกใช้งานจนเต็มในขณะนั้น

หรืออีกนัยหนึ่ง  "การสวิตช์วงจร" (Circuit Switching) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อาศัยหลักพื้นฐานทางด้านการสวิตชิ่งของระบบโทรศัพท์ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้เชื่อต่อกันในวงจรระหว่างจุดไปจุด  จุดอ่อนของการสวิตช์วงจรที่เชื่อมระหว่างสองจุด ทำให้ใช้ข้อมูลข่าวสารในเครือข่าย ไม่เต็มประสิทธิภาพ และมีข้อยุ่งยากหากต้องการสื่อสารกันเป็นจำนวนมาก

* การติดต่อสื่อสารโดยใช้ระบบ Packet  Switching

เป็นวิธีการรับส่งข้อมูลอย่างหนึ่ง โดยตัดแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆ แล้วส่งข้อมูลนั้นไปให้ผู้รับ โดยที่แต่ละส่วนจะประกอบด้วย หมายเลขของผู้รับ ข้อมูล และส่วนตรวจสอบความผิดพลาด การส่งข้อมูลแบบ Packet Switching นี้จะไม่เป็นแบบ Real-time (คือทันทีทันใดตามเวลาที่เกิดข้อมูลขึ้นจริง) อย่างการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ แต่จะทยอยส่งข้อมูลไปทีละ Packet ทำให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันได้ โดยข้อมูลแต่ละคนไม่สลับกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับส่งข้อมูลเป็นระยะทางไกลๆ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลถูกกว่า แต่ไม่เหมาะสำหรับงานรับส่งข้อมูลในแบบ Real-time ระบบ Packet Switching นี้มีมาตรฐานการรับส่งข้อมูล เรียกว่า X.25 ซึ่งกำหนดโดย CCITT หรือ ITU-T

ระหว่าง Circuit  Switching กับ Packet  Switching มีข้อดี ข้อด้อยคือ

       Circuit  Switching       Packet  Switching

1. คู่สายจะต้องยืนยันการส่ง - รับข้อมูลก่อน

    (establishment)

2. คู่สายไม่ว่างขณะมีการส่ง-รับข้อมูลกัน

3. ส่ง-รับข้อมูลด้วยเวลาจริง (real time)

4. ไม่มี store and forward

5. ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งไปในเส้นทางเดียวเท่านั้น

    

6. ค่าบริการขึ้นอยู่กับระยะทางและระยะเวลา 

    ไม่ขึ้นกับปริมาณการสื่อสาร 

7. ป้องกันการสูญหายของข้อมูลได้ดี

8.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสและอัตราเร็วของข้อมูล

1. ไม่มีการยืนยัน

 

2. สายว่างตลอดเวลา

3. เร็วมากจนดูเหมือนเท่ากับเวลาจริง

4. Store and forward 

5. เส้นทางไม่เจาะจง (dynamic)

    ข้อมูลอาจมีการส่งไปแบบผิดลำดับเกิดขึ้น

6. ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลตามจำนวนไบท์

    หรือแพคเก็ตที่ส่งออก

7. ป้องกันการสูญหายและความผิดพลาดของข้อมูล

8.  เปลี่ยนแปลงรหัสและอัตราความเร็วของข้อมูลได้

* การสื่อสารระบบแบบ Internet เป็นการสื่อสารแบบ Circuit  Switching  หรือ Packet  Switching

 การสื่อสารระบบแบบ Internet เป็นการสื่อสารแบบ Packet Switching เพื่อความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากแนวความคิดนี้ ได้มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงถึงกัน ก็ จนได้วิธีการรับส่งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบ  กล่าวคือ การนำผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อมาเชื่อมต่อกันได้ จึงมีวิธีการแบ่งระดับการสื่อสารออกมาเป็นชั้น Layer แต่ละชั้นจะมีการวางมาตรฐานกลางเพื่อให้การเชื่อมเครือข่ายที่แตกต่างกันสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ เช่น 25,  TCP/IP,  Frame Relay   เป็นต้น 

* การวิวัฒนาการของระบบสื่อสาร เพื่อการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย มีการพัฒนาไปสู่ IP Network อยากทราบว่า IP Network เป็นการสื่อสารแบบ Circuit Switching หรือ Packet  Switching มีเหตุผลอย่างไร

IP Network เป็นการสื่อสารแบบ Packet Switching เป็นวิธีการที่ให้ผู้ส่งข่าวสารเป็นภาพ เสียง ข้อมูล ไปพร้อมๆ กัน การส่งจะแบ่งแยกข่าวสารเป็นชิ้นเล็กๆ บรรจุเป็น Packet Switching โดยมีการกำหนดแอดเดรสปลายทางที่จะส่งข่าวสาร หลังจากนั้นระบบจะนำแพ็กเก็ตนั้นไปส่งยังปลายทาง ทำให้ข้อมูลข่าวสารนั้นมีรูปแบบที่ต่อเนื่อง รวดเร็ว ไม่มีส่วนใดติดตัดล่าช้า 

IP Network เป็นชื่อเครื่องและหมายเลขเครื่องที่ให้กับเครื่องทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต 


* เอกสารประกอบการเรียน-สอนวิชาการสื่อสารผ่านสื่อใหม่ ร.อ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

* การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย